หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

  ลักษณะสําคัญและจุดเน้นของหลักสูตร
      หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มุ่งผลิตบัณฑิต
ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการประกอบวิชาชีพทางอุตสาหกรรม มีวิสัยทัศน์ในการเลือกใช้เทคโนโลยี อย่างเหมาะสมในการทํางาน อีกทั้งมีจิตสํานึก มีเจตคติที่ดี มีคุณธรรมและมีความ
รับผิดชอบต่อสังคม สามารถบูรณาการองค์ความรู้สร้างสรรค์ประโยชน์และพัฒนาชุมชนได้

  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา (ข้อมูลตามเล่มหลักสูตร)
       1) สําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต ,สายคณิต- ภาษาอังกฤษ ประกาศนียบัตรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง หรือเทียบเท่า
       2) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบ และประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ว่าด้วย การรับนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี

  ระยะเวลาในการศึกษา
      ใช้ระยะเวลาในการสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร (4ปี) จำนวน 4 ปีการศึกษา และต้องไม่เกิน
8 ปีการศึกษา หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต
      สำหรับหลักสูตรต่อเนื่อง ใช้ระยะเวลาในการสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร จำนวน 2 ปีการศึกษา
และต้องไม่เกิน 4 ปีการศึกษา หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต

  แนวทางในการประกอบอาชีพ
      1. อาชีพอิสระ อาทิเช่น ผู้ช่วยวิศวกรอิสระ นักวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ สิ่งประดิษฐ์และอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ โดยสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในประเทศ ประชาคมอาเซียน และประเทศอื่นๆ
      2. งานเอกชน งานอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้าด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย ผู้ปฏิบัติงานทางสาขาอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ช่างเทคนิคในหน่วยงานเอกชน ช่างเทคนิคผู้ควบคุมงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือพนักงานประจําบริษัทต่างๆ เป็นต้น
      3. งานภาครัฐ ได้แก่ การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐต่างๆ ตลอดจนเป็นผู้ช่วยวิศวกร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ช่างเทคนิคฝ่ายปฏิบัติงาน ประจํากองในสังกัดกระทรวงต่างๆและรัฐวิสาหกิจ อาทิเช่น กรมการสื่อสารทหารของเหล่าทัพต่างๆ องค์การโทรศัพท์การสื่อสารแห่งประเทศไทยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

  แนวทางการศึกษาต่อ
      สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต อุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต ในสาขาวิชา ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม หรือหลักสูตรอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน

  *** หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (4ปี)

  ชื่อหลักสูตรภาษาไทย
      หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

  ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ
      Bachelor of industrial Technology Program in Electronecs and       Telecommunication Technology

  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
      ชื่อย่อ อส.บ. (เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม)
      Bachelor of industrial Technology
      (Electronics and Telecommunication Technology)
      ชื่อย่อ B.Ind.Tech.(Electronics and Telecommunication Technology)

  *** หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
      (ต่อเนื่อง)

  ชื่อหลักสูตรภาษาไทย
      หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
       (ต่อเนื่อง)

  ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ
      Bachelor of industrial Technology Program in Electronecs and       Telecommunication Technology (Continuing Program)

  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
      ชื่อย่อ อส.บ. (เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม)
      Bachelor of industrial Technology
      (Electronics and Telecommunication Technology)
      ชื่อย่อ B.Ind.Tech.(Electronics and Telecommunication Technology)

  ปรัชญาของหลักสูตร
       “ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ปัญญาของชุมชน”

  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
       เพื่อผลิตบัณฑิตหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และโทรคมนาคม ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้
        1. มีคุณธรรมและจริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ เข้มแข็ง อดทน ทำหน้าที่เป็น
พลเมืองที่ดี ศรัทธาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัทริย์เป็นประมุข มีความรับผิดชอบต่อตนเอง
วิชาชีพ และต่อสังคม ปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื้อสัตย์สุจริตและเสียสละ
        2. มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปรับปรุงระบบ
อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมให้ตรงตามข้อกำหนด เพื่อป้อนตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานราชการ เอกชน และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
        3. มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถ พัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประทศชาติ
        4. มีมนุษย์สัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น นำเสนอ และติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
        5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสำนึกในการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน สามารถบูรณาการความรู้จากศาสตร์แขนงต่างๆ ได้ เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
และสามารถให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนได้